ไคเซ็น (Kaizen) คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่ประกอบไปด้วยคำย่อย 2 คำ คือ Kai แปลว่าการเปลี่ยนแปลง และ Zen แปลว่าดี ดังนั้นไคเซ็นจึงแปลว่าการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้น ปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในบทความนี้เราจะทำความรู้จักไคเซ็นในมุมของการนำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง นำหลักไคเซ็นมาใช้ในการพัฒนาตัวเอง เพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้น สล็อต
จากหนังสือ One Small Step Can Change Your Life: The Kaizen Way ไคเซ็นเป็นกลยุทธ์การบริหารงานแบบญี่ปุ่น ไคเซ็นไม่ใช่การเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด แต่เป็นการปรับปรุงเฉพาะบางจุดเท่านั้น แสวงหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้การทำงานง่ายขึ้นและสะดวกมากขึ้น ช่วยให้การบริหารจัดการทำได้อย่างมีประสิทธิผล
จุดกำเนิดของไคเซ็น
จุดกำเนิดของไคเซ็นนั้นต้องย้อนกลับไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในภาวะคับขันทำให้ต้องปรับปรุงคุณภาพของการผลิตในโรงงานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสงคราม ต้องใช้กลยุทธิ์การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องทีละน้อยๆ มองหาสิ่งเล็กๆ ที่สามารถปรับปรุงได้ ไม่เน้นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไม่เน้นการติดตั้งเครื่องมือใหม่ๆ แต่เป็นการนำเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น นำสิ่งที่ใช้งานได้อยู่แล้วมาพัฒนาเพิ่ม ในช่วงหลังสงคราม ประเทศญี่ปุ่นได้นำเอาหลักการนี้ไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของธุรกิจ ทำให้เกิดเป็นไคเซ็น
ถึงแม้ว่าแนวคิดไคเซ็นจะถูกพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพในการดำเนินธุรกิจ แต่เราก็สามารถนำแนวคิดไคเซ็นมาใช้ปรับปรุงคุณภาพการดำเนินชีวิตส่วนตัวได้เช่นกัน สิ่งที่ต้องรู้และทำก็แค่เพียงค่อยๆ ปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวัน ถึงแม้มันจะเป็นเรื่องเล็กๆ หรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม ขอแค่ทำให้ชีวิตในวันนี้ ทำให้มันดีกว่าเมื่อวานก็พอ
แทนที่จะพยายามเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างในช่วงเวลาสั้นๆ ก็ให้สนใจและเน้นไปที่การปรับปรุงสิ่งเล็กๆ ทำให้ดีขึ้นครั้งละ 1% สะสมไปเรื่อยๆ ในตอนแรกมันจะดูเหมือนเล็กและยากที่จะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง แต่ในระยะยาวสิ่งเล็กน้อยเหล่านั้นมันจะค่อยๆ สะสมจนเห็นได้ชัดมากขึ้น จนกระทั่งเราสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง มันอาจจะต้องใช้เวลานานหลายเดือนหรือหลายปี แต่การเปลี่ยนแปลงมันจะเกิดขึ้นแน่นอนถ้าเราใส่ใจและมีวินัย ทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
การปรับปรุงแบบไคเซ็น
การปรับปรุงแบบเดิมมักจะเน้นไปที่การปรับปรุงในระดับใหญ่ ที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ต้องมีการวิจัยและพัฒนา ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ ใช้เครื่องมือใหม่ หรือกระบวนการแบบใหม่ ซึ่งการปรับปรุงในลักษณะนี้จะเป็นแบบนวัตกรรม (Innovation) เป็นการปรับปรุงแบบก้าวกระโดด และมักเป็นภารกิจของระดับบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
|