ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับไวรัสนั้น ทำให้เราเข้าใจบทบาทและการทำงานของไวรัสมากขึ้น เช่น HIV ที่ถูกค้นพบในปี 1980 มีผู้คนมากกว่า 60 ล้านคนที่ติดเชื้อนี้ และกว่า 30 ล้านคนที่เสียชีวิต เชื้อ HIV จะทำงานโดยใส่ DNA ของมันเข้าไปในเซลล์ของโฮสต์และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว การที่ระบบภูมิคุ้มกันต้องทำงานหนักเพื่อต่อสู้กับไวรัส ก็ทำให้อ่อนแอลง ทำให้โอสต์เปิดโอกาสให้ติดเชื้อชนิดอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น ติดเชื้อในปอด ปอดบวม
เมื่อมองย้อนกลับไปยังอดีต ก็จะช่วยได้อย่างมาก ในตอนที่สืบสวนเกี่ยวกับไวรัส เพราะประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอย การระบาดของไวรัสที่เกิดจากยุงก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอีกครั้ง
คนที่สัมผัสกับยุง โดนยุงกัด ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในสมอง เป็นไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) โรคซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่สมอง หรือปัญหาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ไวรัสอาจเดินทางจากโลกฝั่งตะวันออกไปยังฝั่งตะวันตก นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยจึงระลึกอยู่เสมอและเรียนรู้จากความผิดพลาด เรียนรู้เพื่อใช้มันรับมือกับการระบาดของไวรัสที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ
เรายังไม่สามารถทำนายได้ว่าเมื่อไหร่มันจะเกิดการระบาดครั้งใหญ่เช่นเดียวกับ Ebola การแพร่ระบาดที่เริ่มต้นเมื่อปี 1976 ใน Guinea และหลังจากนั้น Ebola ก็กลับคืนมาอีกหลายครั้ง เช่นในปี 2013 และการระบาดในครั้งหลังๆ ก็ยิ่งเพิ่มระดับครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่เคยระบาดกันเพียงแค่ในหมู่บ้าน ก็กลายเป็นทั้งเมือง และขยายออกสู่คนทั้งโลก ในเดือนธันวาคม ปี 2013 มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตถึง 1000 คน สล็อต pg
การระบาดในแต่ละครั้ง เชื้อไวรัสเช่น Ebola มักจะหายหน้าไปจากประชากรมนุษย์ แต่มันก็ไม่ได้หายไปซะทีเดียว มันยังวนเวียนอยู่ในวงจรสัตว์ชนิดอื่น วนเวียนวิวัฒนาการอยู่ในวงจรของสัตว์ป่า เรายังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ไวรัสเหล่านี้จะกระโดดข้ามเข้าสู่ประชากรมนุษย์อีก
และแล้วมันก็เกิดขึ้นอีกครั้ง Covid-19
Covid-19 อาจเป็นไวรัสชนิดใหม่ แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับไวรัส Coronavirus มานานหลายปีแล้ว ก่อนหน้าปี 2003 นั้น นักวิทยาศาสตร์ค้นพบไวรัส Coronavirus 2 ชนิดที่คนติดเชื้อได้ แต่ทั้งสองชนิดต่างก็ทำให้ป่วยเป็นแค่ไข้หวัดเท่านั้น ไม่ได้มีอาการร้ายแรง
แต่หลังจากปี 2003 เราก็ได้รู้จักไวรัส Coronavirus มากขึ้นจากโรค SARS (Severe Acute Respiratory Syndrome) ที่มีพาหะคือ SARS-CoV ถ้าเทียบระดับความร้ายแรงกับ Covid-19 ถือว่าในตอนนั้นมันเป็นเพียงสัญญาณเตือนให้เราเตรียมตัว
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับไวรัส Coronavirus รู้โครงสร้างและการทำงานของไวรัสชนิดนี้หลายอย่าง เพื่อที่จะพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัส
ไวรัสชนิดนี้ (SARS-CoV-2) มีโปรตีนที่มีลักษณะเป็นหนามอยู่รอบๆ (Spike protein) มันติดอยู่รอบไวรัสและทำหน้าที่ค้นหาเซลล์ที่จะเข้าไปจับ และเมื่อมันเจอตัวรับ (ACE2 Receptor) ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ในปอด จากนั้นหนามโปรตีนของไวรัสก็จะยึดติดกับตัวรับเพื่อให้ไวรัสเข้าไปในเซลล์
หนามแหลมมันจะทำให้เซลล์เข้าใจว่า ตอนนี้ได้เวลากินอาหารแล้ว และเซลล์ก็จะดึงตัวรับเข้ามา ทำให้ไวรัสเข้าไปในเซลล์ได้ นั่นคือตอนที่เราติดเชื้อ ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม
หลังจากนั้นไวรัสก็จะเริ่มยึดครองเซลล์ เอาสิ่งที่เซลล์ใช้ เช่น เอนไซม์มา Copy ตัวเอง เกิดเป็นไวรัสใหม่ และเมื่อมีไวรัสเพิ่มมากขึ้นจนเต็มเซลล์ เซลล์นั้นก็จะแตก และทำให้ไวรัสหลุดออกมา และก็ทำให้เซลล์รอบๆ ติดเชื้อไวรัสต่อไป
ส่วนการพัฒนาวัคซีนนั้น นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะสร้างวัคซีนที่ทำให้ร่างกายของเราสร้างหนามแหลมที่คล้ายกับโปรตีนของไวรัส เพื่อสอนให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรารู้จักหนามแหลม และเมื่อร่างกายติดเชื้อไวรัสจริงๆ ก็จะสามารถทำลายมันได้
บางคนอาจมองว่า Covid-19 เป็นเพียงแค่ไข้หวัดใหญ่อีกแบบหนึ่ง แต่เราควรเข้าใจมากขึ้นว่าถึงแม้มันจะมีอาการ มีหลายอย่างคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ แต่ความแตกต่างเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลทำให้มันกลายเป็นไวรัสอันตรายได้ ความแตกต่างของ Covid-19 กับไข้หวัดใหญ่เช่น
ความสามารถในการติดเชื้อที่สูงกว่าไข้หวัดใหญ่
ระยะเวลาฟักตัวที่นานกว่าไข้หวัดใหญ่
Covid-19 เป็นไวรัสชนิดใหม่สำหรับมนุษย์
ความสามารถในการติดเชื้อดูได้จากค่า R0 (R-naught) ซึ่งเชื้อไวรัส Covid-19 นั้นมีค่า R0 อยู่ระหว่าง 2-2.5 นั่นหมายความว่าค่าเฉลี่ยที่คนติดเชื้อหนึ่งคนจะสามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆ ได้อย่างน้อย 2 คน
เทียบกับไข้หวัดใหญ่ที่มีค่า R0 อยู่ที่ประมาณ 1.3 ผลจากการจำลองรูปแบบการติดเชื้อ หากนับผู้ติดเชื้อไปเรื่อยๆ หลังจาก 10 รอบก็จะได้ผู้ติดเชื้อประมาณ 50-60 คน แต่สำหรับ Covid-19 แล้วเมื่อครบ 10 รอบ เราจะได้ผู้ติดเชื้อมากกว่า 2000 คน นั่นคือความร้ายแรงของมัน
ระยะฟักตัวของไข้หวัดใหญ่นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 1-2 วัน ไม่นานหลังติดเชื้อ ผู้ป่วยก็จะมีอาการแสดงออกมา และรู้ตัวว่าตัวเองสามารถแพร่เชื้อต่อไปได้อีก แต่สำหรับ Covid-19 นั้น มีระยะฟักตัวยาวนานกว่ามาก ผู้ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการป่วยให้เห็นเลยหลังจากเวลาผ่านไปแล้ว 12 หรือ 14 วัน ทำให้คนนั้นใช้ชีวิตตามปกติ เดินทาง และทำให้แพร่เชื้อไปยังคนอื่นๆ ได้
ไข้หวัดใหญ่ที่บางคนได้รับการฉีดวัดซีน หรือเคยติดเชื้อมาแล้ว ก็จะทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่จะสามารถแพร่เชื้อให้เฉพาะคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเท่านั้น ต่างจาก Covid-19 ซึ่งเป็นไวรัสชนิดใหม่สำหรับมนุษย์ ดังนั้นจึงไม่มีวัคซีน และไม่มีใครเคยติดเชื้อ นั่นหมายความว่าไม่มีใครเลยที่จะมีภูมิต้านทานเชื้อนี้ตามธรรมชาติได้
ดังนั้นการป้องกันที่เราสามารถทำได้คือ Social การใช้ระยะห่าง หลีกเลี่ยงการพบปะ เป็นทางเดียวที่เราสามารถทำได้เพื่อทดแทนภูมิคุ้มกันที่เรายังไม่มี
|