Timing ในการเปิดตัว ซูเปอร์ลีก อาจมาไม่ถูกที่ถูกเวลาเมื่อ “หงส์แดง” ลิเวอร์พูล 1 ใน 12 ผู้ก่อตั้งเป็นทีมแรกที่เหมือนเป็นเหยื่อระบายอารมณ์จากแฟนบอลที่ไม่เห็นด้วย
กระแส ซูเปอร์ลีก ระเบิดเมื่อวันอาทิตย์และ ลิเวอร์พูล ลงเตะกับ ลีดส์ ในวันจันทร์ ทำให้ผลเสมอ 1-1 เกิดแรงกระเพื่อมในเชิง “ธรรมะ ชนะ อธรรม”
เมื่อหลายคนมองว่านี่คือสัญลักษณ์และก้าวแรกของทีมเล็กที่เอาชนะทีม ESL
แม้กระทั่ง พาทริค ฟาน อาห์นโฮลท์ แบ็คของ คริสตัล พาเลซ ก็ทวิตแซวว่า “ลีดส์ น่าจะได้ไปเล่นใน ซูเปอร์ลีก ด้วยเหมือนกัน”
ตอน “หงส์แดง” นำ 1-0 จนเข้าสู่ท้ายเกม ผมตั้งใจจะเขียนคอลัมน์แต่พอโดนตีเสมอก็หมดอารมณ์และเกิดความรู้สึก (แบบคนขี้เกียจ) ว่าไหนๆแม่งก็จะไปเล่น ซูเปอร์ลีก ละ จะเขียนทำไมให้เสียเวลา (หยอกๆ)
ไม่ทราบว่าผมคิดไปเองไหมแต่สัมผัสได้ถึงความตรึงเครียดของเหล่าแข้ง เมอร์ซีย์ไซด์เร้ด ตั้งแต่ก่อนลงสนามจากกระแสการประท้วงนอกสนามของ เดอะ ค็อป ที่เผาเสื้อตะโกนด่าตั้งแต่รถบัสเข้าสนาม
ไล่ยาวไปถึงสโมสรที่เกี่ยวข้องกับสมาชิก ESL เนื่องจากแฟนบอลแทบทุกคน “ผูกพัน” กับ “ฟุตบอลลีก” มากกว่า โกอินเตอร์ ที่ไม่นานก็เบื่อดังนั้นการกลัวถูกขับจึงเปลี่ยนออกมาเป็นความโกรธสโมสรที่ทำให้พวกเขาไม่มีสิทธิ์มีเสียงเลือกอะไรได้เลย
ผมเชื่อว่า “”นักเตะ ของสมาชิกผู้ก่อตั้ง 12 สโมสรที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่จะต้องอยู่กับอาการ ”อมทุกข์” ไปจนกว่าผู้หลักผู้ใหญ่จะลดความ “ดุดัน” และใช้ไม้อ่อนเพื่อเจรจาหาทางออกร่วมกัน
เพราะอย่างที่ผมเคยเขียนไว้ในคอลัมน์เมื่อวันก่อนว่าไม่ว่าใครจะเลือกทางไหนมีล้วนแล้วแต่เจ็บตัวทั้งนั้น
แต่ผมมองไปใน worst case ที่ ยูฟ่า อยู่ในสถานะ “ล่อแหลม” กว่า ซูเปอร์ลีก และ domestic league หรือลีกภายในประเทศคือ 2 ฝ่ายหลังขาดซึ่งกันและกันไม่ได้แน่ๆ
แต่ทั้งคู่ขาด “ยูฟ่า” ได้
ถ้าลีกภายในประเทศตกลงและจูบปากกับ 12 สโมสรผู้ก่อตั้ง ซูเปอร์ลีก ได้ทุกอย่างก็จบง่ายๆ
เพียงแต่ตอนนี้ด้วยปริมาณ ESL จุ๋ม***แค่ 12 ทีม จึงพอเข้าใจที่ domestic league จะเล่นบท “อยู่เป็น” และเน้น safety ให้ลีกของตัวเองตามสัญชาตญาณเอาไว้ก่อน
คิดแบบไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ใดๆการไปเตะ ESL ของ Big team มันไปสร้างความเดือดร้อนอะไรให้ domestic league?
การขู่ตัดสิทธิ์ไม่ต่างอะไรกับการทุบหม้อข้าวตัวเอง ใครจะประมูลซื้อลิขสิทธิ์ในราคาเดิม? แล้ว ยูฟ่า เป็นญาติฝั่งไหนถึงต้องยอมเจ็บตัวขนาดนี้?
สำหรับ ยูฟ่า เสือนอนกินที่ไม่ต่างอะไรจากทำนาบนหลังคน ชี้นิ้วสั่งมาหลายสิบปีไม่ต้องลงทุนลงแรงแถมแว่วมาว่า “เงินเดือน” ของประธานยูฟ่า รับเละจิบกาแฟเพลินเกือบ 2 ล้านดอลลาร์ ขอย้ำรายเดือนไม่ใช่รายปี
การทำหน้าที่เป็นแค่ “ผู้จัด” มันหาคนทดแทนทำได้อยู่แล้ว ก็แค่งานจัดอีเว้นท์แต่ “product” (สโมสร) และ ”structure” (ลีกภายในประเทศ) มันหาสิ่งทดแทนกันไม่ได้
สิ่งที่ ยูฟ่า น่าจะต้านทานยากคือหนนี้ ซูเปอร์ลีก ไม่ใช่แค่ก่อตั้งเพื่อขู่เรียกเงินเพิ่มเหมือน G14 ในอดีตแต่ต้องการมาแทน แชมเปี้ยนส์ลีก โดยมีรายได้มากถึง 2.5 พันล้านปอนด์ที่จะถูกแชร์ไปยังผู้ร่วมก่อตั้ง (เป็นค่าโครงสร้างพื้นฐาน)
และโบนัสอีก 8.6 ล้านปอนด์สำหรับ initial commitment period หรือน่าจะประมาณเงินกินเปล่าสำหรับผู้ร่วมก่อตั้ง
ที่สำคัญโปรเจคนี้รากฐานมั่นคงจัดๆเมื่อมี JP Morgan บริษัทให้บริการทางการเงินจากอเมริกายอมออกทุนในการสร้างที่สูงถึง 5 พันล้านปอนด์
แน่นอนครับ JP Morgan เห็นช่องทางโกยเงินในอนาคตจาก ซูเปอร์ลีก ไม่เช่นนั้นใครจะกล้าลงทุนเป็นพันๆล้าน
บทสัมภาษณ์ล่าสุดจาก ฟลอเรนติโน่ เปเรซ ประธาน ซูเปอร์ลีก แสดงความชัดเจนว่าเขาต้องการปลุกชีพเกมลูกหนังที่กำลังค่อยๆตายโดยเฉพาะหลังการระบาดของ covid-19 ที่ขาดทุนย่อยยับ
เปเรซ วิเคราะห์ไว้น่าสนใจเพราะคนรุ่นใหม่อายุ 16-24 ปีเริ่มค่อยๆไม่สนใจเกมฟุตบอลแล้วเนื่องจากเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ
รวมถึงพาดพิงไปยังความโปร่งใสของ ยูฟ่า ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่ทำให้แกนนำต้องผนึกกำลังถ่วงดุลอำนาจผูกขาด
2 วันที่ผ่านมานี้เมื่อเอามาเปรียบกันระหว่างบทสัมภาษณ์ล่าสุดของ เปเรซ กับ อเล็กซานเดอร์ เซเฟริน ประธานยูฟ่า (หรืออาจจะรวมถึงคนที่มีชื่อเสียงในเกมลูกหนัง)
เราจะได้ว่าฝ่ายนึงสุขุม แจงรายละเอียด และพร้อมเจรจาแต่อีกฝ่ายหัวร้อน ประณามแบบไม่เหลือพื้นที่ให้ผูกมิตรกันเลยทีเดียว
ไม้ตายของ ยูฟ่า ที่มีอยู่คือการพึ่งพา ลีกแต่ละประเทศและ ฟีฟ่า เพื่อตัดสิทธิ์ทั้งสโมสร (กับลีกในประเทศ) และผู้เล่น (จากเกมระดับนานาชาติ)
ซูเปอร์ลีก เหมือนทำการบ้านมาจึงเดินเกมเพื่อฟ้องร้องปกป้องสิทธิ์ของตัวเองด้วยการฟ้องศาลเช่นกัน (แต่ยังไม่เปิดเผยว่าศาลไหน)
ส่วนประเด็นตัดสิทธิ์ เชลซี, แมนฯซิตี้ และ เรอัล มาดริด ในรอบรองชนะเลิศ UCL ซึ่งผมคิดว่าแค่ขู่ (บวกหัวร้อน) เพราะ ESL มันยังไม่ได้แข่งแค่เปิดตัวผู้ร่วมก่อตั้ง
ฟ้องศาลยังไง ยูฟ่า ก็แพ้และแถมหนักกว่าคือกระทบต่อการจัดการแข่งขัน, ค่าลิขสิทธิ์ที่รับมาแล้ว เรียกว่าฟ้องกันตูดบาน
ครับมาถึงตรงนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ซูเปอร์ลีก ไม่ใช่ปัญหาของคนในแวดวงลูกหนังอย่างเดียวแล้ว มันลามไปถึงระดับชาติเมื่อทั้ง บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีของ อังกฤษ ออกตัวแล้วว่าจะทำทุกอย่างเพื่อขัดขวางโปรเจคนี้
เจ้าชาย วิลเลี่ยมส์ ซึ่งเป็นแฟน แอสตัน วิลล่า ยังทวิตแสดงความเป็นห่วงที่ฟุตบอลกำลังเสี่ยงถูกทำลาย
โดยส่วนตัวในความรู้สึกผมจริงๆ โลกการเงินของฟุตบอลมันพังตั้งแต่การเข้ามาเทคโอเวอร์ของเศรษฐีจน “ค่าตัว” และ “ค่าเหนื่อย” ของผู้เล่นมัน “โอเวอร์” เกินจริงมมากเกินไป
เมื่อมันถูกตั้งมาตรฐานไว้แล้วย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าการซื้อขายต่อๆไปไม่ว่าจะดีลระดับไหนมันก็สูงเกินจริงจนค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่ครั้งนึงเคยเหลือกินเหลือใช้มันไม่พอขึ้นมา
Covid-19 ซึ่งสิ่งที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายเป็นตัวจุดชนวนระเบิดฟองสบู่จนเป็นตัวเร่งทำให้ ซูเปอร์ลีก ต้องรีบผลักดันตัวเองก่อนที่สโมสรเหล่านี้จะขาดทุนไปมากกว่านี้
ทั้งๆที่ผมว่า format เดิมของ แชมเปี้ยนส์ลีก มัน “ดี” และ “ลงตัว” อยู่แล้ว ติดตรงที่ ยูฟ่า อมเงินเยอะเกินไปและอาจจะพูดได้ว่า “ว่าง” เกินไปจนมาเปลี่ยนระบบเพิ่มทีมจาก 32 เป็น 36 แล้วเตะเป็นลีกเดียว (โดยไม่ถามความสมัครใจใดๆ)
เป็น vision ของคนโบราณที่ค่อนข้าง out ด้วยการเน้นปริมาณเพื่อเอาไปขาย sponsor ก่อนเอาเศษเงินมาโยนให้สโมสรเหมือนที่เคยทำมา
ตรงกันข้ามกับยูส เปเรซ ที่มีหัวธุรกิจและมองไกลด้วยคอนเซปป์ง่ายๆ ไม่ต้องเตะเยอะ เน้นคุณภาพได้เงินมากกว่าหลาย 10 เท่า
ผมเป็นคนเชื่อในเรื่องของ “Product Value” เมื่อของมันดีจริง ไม่ต้องโฆษณามาก ผู้คนจะ "ยอมรับ" และไขว่คว้าตามหามันเอง
เหมือนครั้งนึงเมื่อราวๆ 15 ปีก่อน ผมเคยปะทะคารมกับแฟนบอลไทยผ่านหนังสือพิมพ์คิกออฟ (ส่วนแฟนบอลคนนั้นโต้กลับในบอร์ด pantip)
ประเด็นที่ว่าบอลไทยในสมัยนั้นยังอิงกับสโมสรห้างร้านและองค์กรต่างๆ (ธนาคาร, ยาสูบ ฯลฯ) ผมจึงย้ำว่าถ้าอยากให้มีผู้ชมในสนามเยอะๆต้องยุบองค์กรและผูกจังหวัดกับสโมสรเจ้าด้วยกันเพื่อดึงความ loyalty ของแฟนบอลในพื้นที่นั้นๆ
ผมไม่สูบบุหรี่ พ่อไม่ได้ทำงานธนาคาร ไม่รู้สึกผูกพันไม่อยากเข้าไปเชียร์ เหตุผลแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว
การแก้ปัญหาด้วยการชิงโชคหางตั๋วหรือเอาตลกเข้ามาคั่นระหว่างพักครึ่งเพื่อล่อคนเข้าสนามมันไม่ช่วยอะไรเลย
แต่แฟนบอลคนนั้นเห็นตรงกันข้าม แกใส่ผมยับบอก ฮัลโหลๆๆ เบน ฟรีคิกเขาอยากให้บอลไทยพัฒนาแต่เขาไม่ยอมมาดูว่ะ ถ้าอยากให้บอลไทยเจริญคุณต้องมาอุดหนุนมาชมเกมเพื่อหล่อเลี้ยงให้เขาเอาไปพัฒนาทีมต่อดิ่ ฯลฯ
คือมันช่วยได้แค่สั้นๆ ไม่ใช่ระยะยาว ต้องเปลี่ยนที่โครงสร้างและ vision ของผู้นำ
เราปะทะคารมผ่านคนละ platform อยู่ราวๆ 2-3 กระบี่ก่อนแยกย้าย (รู้สึกเหนื่อย ฮา)
“unvalued product” ในระบบใหม่ของ ยูฟ่า ทำให้ผมที่ “อาจ” ไม่ค่อยชอบระบบของ ESL เนื่องจาก big team ต้องเจอกันทุกปี (ทีมอื่นในลีกรองสมัยนี้ไม่หมูแล้วนะ)
แต่ให้เลือกนาทีนี้ (และเดี๋ยวนี้) ผมขอ take side ไปที่ ESL แต่ Domestic league ยังไงต้องคงอยู่และห้ามขาดห้ามตาย...
สนับสนุนโดยเว็บไซต์ ufa77
|