แง่คิดวันนี้อยู่ในหมวดบทความความรัก เกี่ยวกับประโยคหนึ่งที่คงเคยได้ยินกันมาบ้าง คือ “ความในอย่านำออก ความนอกอย่านำเข้า” แม้จะเป็นเรื่องที่น่าจะเข้าใจไม่ยาก แต่ในชีวิตจริง มีทั้งคนไม่เข้าใจ และเข้าใจแต่ทำไม่ได้ ทั้งที่มันอาจกลายเป็นการบ่อนทำลายชีวิตคู่ได้อย่างจริงจัง…
ความในอย่านำออก ความนอกอย่านำเข้า
บ้างก็ใช้ในอีกประโยคคือ “ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า” ความหมายคือ ไม่ควรนำเรื่องราวในครอบครัว หรือในบ้านไปพูดกับคนข้างนอก และในทางกลับกันก็ไม่ควรนำเรื่องนอกบ้าน (ที่ไม่จำเป็น) มาเป็นประเด็นในบ้านหรือในครอบครัวตัวเอง ในประโยคที่ใช้แทนว่า “ไฟ” ด้วยเป็นตัวแทนความร้อน เช่น เรื่องร้อนแรง หรือสิ่งไม่ดี ก็จะหมายถึงอะไรไม่ดี ๆ ในบ้านไม่ควรนำไปพูด ซึ่งจะ “ไฟใน” หรือ “ความใน” มันก็เป็นประเด็นได้ไม่ต่างกัน…
เริ่มจาก “ขาดการพิจารณาว่าอะไรควรพูด ไม่ควรพูด…”
ถ้าคนหนึ่งมองว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ “ไฟ” คือคิดไปเองฝ่ายเดียวว่าไม่น่าเสียหาย ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงจึงเอาไปพูด แต่คนในบ้านไม่เห็นด้วย มองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรพูด ก็ย่อมไม่พอใจมีปัญหากันได้
การที่แม้เป็นแค่ “ความใน” ที่อาจหมายถึงเรื่องทั่วไป เรื่องที่เราก็คิดแล้วว่าไม่น่าจะเสียหาย ก็ต้องไม่ลืมว่าเรื่องราวที่ถูกพูดต่อ ๆ กันไป ข้อความผิดเพี้ยน บิดเบือนได้เสมอ จากเรื่องดี ๆ กลายเป็นไม่ดีก็มีมาแล้ว โดยอย่างยิ่งบนคำว่า “สนุกปาก”แล้วก็ใช่เพียงสนุกปากคนอื่นเท่านั้น บางครั้งก็จากความสนุกปากเราเอง หรืออารมณ์ที่ขาดความยั้งคิด จะพูดจริง พูดเล่น พูดประชด คึกคะนองไป มันย้อนคืนไม่ได้เมื่อมันเสียหายไปแล้ว…
เหตุไม่ใช่แค่ขาดความยั้งคิด
ที่จริงก็ยากจะตัดสินและพิจารณาว่า เรื่องไหนดีเรื่องไหนไม่ดี เรื่องไหนอาจจะเสียหายไม่เสียหาย เมื่อมองเป็นกลางแล้ว บางเรื่องเราก็ไม่รู้ตัว หรือลืมตัว พูดไม่ทันคิดกันได้บ่อย ๆ แต่ก็มีหลายกรณีที่เหตุไม่ใช่แค่ขาดความยั้งคิด เพราะคิดแล้วนี่แหละจึงพูดไป เพียงแต่เป็นการคิดในมุมเดียว…
เช่น เมื่อเกิดความน้อยใจ ความไม่สบายใจเกี่ยวกับคนในครอบครัว เราอยากปรึกษาใครสักคนย่อมทำได้ แต่บนความเป็นจริงน้อยคนนักที่จะต้องการ “คำปรึกษาจริง ๆ” มักแค่ต้องการบ่นระบายออกไป แล้วก็เป็นได้อีกว่าการบ่นระบายนั้น เพียงต้องการต่อว่าคนในบ้านเพื่อความสะใจของตัวเองในเวลาอันสั้น แต่คนฟังนั้นคิดอีกอย่าง… บาคาร่า
|